
Cybersecurity Engineering คืออะไร
คณะวิศวกรรมความปลอดภัยไซเบอร์ หรือ Cybersecurity Engineering เป็นสาขาวิชาที่เน้นการออกแบบและพัฒนาระบบที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันข้อมูลขององค์กรจากการโจมตีทางไซเบอร์ หลักสูตรนี้รวมถึงการเรียนรู้เทคนิคในการป้องกัน ตรวจจับ และการตอบสนองต่อการโจมตีไซเบอร์ การจัดการความเสี่ยง การวิเคราะห์ความปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการเข้ารหัสข้อมูล (encryption) และ Malware analysis เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยในทุกๆ ด้าน

Cybersecurity Engineering เรียนอะไรบ้าง
นอกจากวิชาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยไซเบอร์โดยตรงแล้ว คณะวิศวกรรมความปลอดภัยไซเบอร์ หรือ Cybersecurity Engineering ยังต้องเรียนวิชาพื้นฐานต่างๆ เพื่อสร้างฐานความรู้ที่แข็งแกร่งอีกด้วย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างวิชาที่น้องๆ จะได้เรียนหากเลือกเรียนในคณะนี้:
- Programming Fundamentals: นักศึกษาจะได้เรียนรู้หลักการพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมเช่น Java, Python, หรือ C++ ทุกภาษาจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่ เมื่อน้องเรียนภาษานึงจนเก่งแล้ว การเรียนอีกภาษาเพิ่มก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปอย่างแน่นอน
- Operating Systems: เรียนเกี่ยวกับการทำงานและการจัดการระบบปฏิบัติการ เช่น Windows หรือ Linux
- Database Systems: เรียนเกี่ยวกับการออกแบบและการใช้งานฐานข้อมูลเช่น SQL Server, MySQL ซึ่งเรียกว่าเป็นอีกหนึ่งสาขาความรู้ที่สำคัญมากๆ ในยุคปัจจุบัน
- Network Security – เรียนเกี่ยวกับการป้องกันและการจัดการความปลอดภัยในระบบอินเตอร์เน็ต และพื้นฐานการทำงานของระบบ Networking
- Cryptology – เรียนเกี่ยวกับการ encryption และ decryption ต่างๆ เพื่อให้การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
- Digital Forensics – เรียนเกี่ยวกับวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูลหลังเกิดเหตุการณ์โจมตีไซเบอร์
- Ethical Hacking – เรียนเกี่ยวกับการใช้เทคนิคและเครื่องมือของแฮ็กเกอร์เพื่อทดสอบและปรับปรุงความปลอดภัยของระบบ ถ้าใครสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ สามารถต่อยอดเพื่อทำอาชีพเป็น penetration tester ต่อได้เลย

แนวโน้มในอนาคต
ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงในภาคส่วนต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Machine Learning Big Data Analysis และ Internet of Thing หรือ (IoT) การเติบโตในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเงิน ทำให้จำนวนตัวเลขของอาชญากรรมไซเบอร์และการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตมีมากขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้มีความต้องการการป้องกันและการตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และมีแนวโน้มจะมีความต้องการในตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

อาชีพหลังเรียนจบ
ปัจจุบัน เกือบทุกองกรณ์ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ด้วยกันทั้งนั้น และผลกระทบที่ตามมาคือเรื่องความปลอดภัยขององกรณ์และความปลอดภัยของลูกค้า หลายๆองกรณ์จึงเริ่มเห็นความสำคัญของ cybersecurity มากขึ้น ทำให้ตำแหน่งงานเกี่ยวกับ cybersecurity มีเพิ่มมากขึ้นในทุกอุสาหกรรม ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างอาชีพที่สามารถทำได้เมื่อเรียนจบจากคณะนี้:
- Cybersecurity Analyst: ทำหน้าที่วิเคราะห์และประเมินระบบเพื่อตรวจจับและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นตำรวจที่คอยตรวจตาความปลอดภัยในระบบอินเตอร์เน็ต
- Security Architect: ทำหน้าที่ออกแบบโครงสร้างความปลอดภัยเพื่อปกป้องข้อมูลและระบบให้ดียิ่งขึ้น
- Penetration Tester: ทำหน้าที่ทดสอบความเสี่ยงและช่องโหว่ของระบบด้วยการจำลองการโจมตี ถ้าให้เข้าใจมากขึ้นคือ hacker ฝ่ายดี ที่คอยเช็คว่าระบบมีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง
- Incident Response Manager: ทำหน้าที่จัดการและตอบสนองต่อเหตุการณ์ความปลอดภัยไซเบอร์ ว่าควรตอบโต้ยังไงหรือเริ่มการสืบสวนยังไง
- Chief Information Security Officer (CISO): ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการความปลอดภัยข้อมูลสำหรับองค์กร
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
ดูมหาวิทยาลัยเพิ่มเติมได้ที่นี่