
Material Science and Technology คืออะไร
คณะวิทยาศาสตร์วัสดุและวิศวกรรม หรือ Material Science and Technology เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา ทดสอบ และการประยุกต์ใช้วัสดุต่างๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่นการออกแบบวัสดุที่ทนทานมากขึ้นสำหรับอากาศยานต์ หรือการออกแบบวัสดุที่เป็นมิตรต่อโลกเพื่อใช้แทนที่ถุงพลาสติก เป็นต้น สาขานี้จะเรียนครอบคลุมทั้งคุณสมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางเคมีของวัสดุ และยังได้เรียนเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
คณะ Material Science เรียนอะไรบ้าง
น้องๆ ที่เลือกเรียนคณะวิทยาศาสตร์วัสดุและวิศวกรรม (Material Science and Technology ) จะได้เรียนวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงสร้างของวัสดุต่างๆ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของวิชาที่น้องๆ จะมีโอกาสได้เจอหากเลือกเรียนในสาขานี้:
- Materials Science Fundamentals – เรียนเกี่ยวกับหลักการของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและสถานะของวัสดุต่างๆ ตั้งแต่ระดับอะตอมเลย
- Thermodynamics of Materials – เรียนเกี่ยวกับพลังงานความร้อนต่างๆ การถ่ายเทความร้อน รวมถึงการนำพลังงานที่เกิดขึ้นไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
- Properties of Materials – เรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ของวัสดุเช่น ความแข็ง ความยืดหยุ่น และการนำความร้อนเป็นต้น
- Phase Transformations – เรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของวัสดุและผลกระทบต่อคุณสมบัติทางกายภาพ
- Materials Characterization – เรียนเกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ในการวิเคราะห์และการระบุคุณสมบัติของวัสดุ
- Ceramics and Composites – เรียนเกี่ยวกับการผลิตและการใช้งานวัสดุเซรามิคและวัสดุผสมที่มีคุณสมบัติพิเศษ
- Polymers and Biopolymers – เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานของพอลิเมอร์และการประยุกต์ใช้งานในสาขาต่างๆ เช่น ยาและเทคโนโลยีชีวภาพ
- Electronic and Magnetic Materials – เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์วัสดุที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- Nanomaterials – เรียนเกี่ยวกับการประยุกต์วัสดุนาโนที่มีขนาดเล็กและคุณสมบัติพิเศษที่ผลิตขึ้นได้จากการควบคุมที่ระดับนาโน
ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่น้องๆ อาจจะได้เจอ น้องๆ จะได้เรียนวิชาที่หลากหลายมากๆ เพื่อประยุกต์ใช้ความรู้กับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อากาศยาน การแพทย์ และอื่นๆ

แนวโน้มในอนาคต
ในอนาคต คณะวิทยาศาสตร์วัสดุ (Material Science and Technology ) มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเนื่องจากความต้องการวัสดุใหม่ๆ เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น การพัฒนาวัสดุที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้และวัสดุที่มีคุณสมบัติทางกลและเคมีที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการนั้นมีแนวโน้มว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยและพัฒนาในอนาคต นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าวัสดุใหม่เหล่านี้จะช่วยให้สามารถพัฒนาอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและยั่งยืนมากขึ้น ตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงวัสดุใช้ในอากาศยานและยานยนต์ นอกจากนี้เทรนต์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกหนึ่งเทรนต์ที่น่าจับตามองต่อไป ซึ่งก็จะเกี่ยวกับสาขานี้โดยตรงเลย

เรียน Material Science ทำงานอะไรได้บ้าง
หลังจากเรียนจบจากคณะวิทยาศาสตร์วัสดุ (Material Science and Technology ) น้องๆ สามารถเลือกอาชีพได้ในหลากหลายอุสาหกรรมเลย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างอาชีพที่สามารถทำได้หลังเรียนจบ:
- วิศวกรวัสดุ (Materials Engineer) – ทำหน้าที่รพัฒนาและทดสอบวัสดุใหม่ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ
- นักวิจัยและพัฒนา (R&D Scientist) – ทำหน้าที่ในห้องแล็บเพื่อพัฒนาวัสดุและเทคโนโลยีใหม่ๆ
- วิศวกรกระบวนการ (Process Engineer) – ทำหน้าที่ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิต
- ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) – ทำหน้าที่บริหารโครงการวิจัยและพัฒนาในด้านวัสดุวิทยา
- ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้า Quality Assurance (QA) – ทำหน้าที่รับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยการตรวจสอบและทดสอบวัสดุและผลิตภัณฑ์เพื่อให้แน่ใจว่ามีคุณภาพและความน่าเชื่อถือตามมาตรฐานที่กำหนดไว้